วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

COMMUNICATION DESIGN 5 // week 6

อาทิตย์นี้มีแขกรับเชิญจะมาพูดคุยกันในเรื่องสารคดี The last day on earth 7 ปรากฏการณ์ที่จะทำให้เกิดวันสิ้นโลก แขกรับเชิญที่ว่าคือ คุณภานพ เกษมศานติ์(อ.ตั้ม)
เป็นผู้บริหารของโทรศัพทืเครือข่าย ฮัท ขอเรียกอาจารย์ตั้มนะคะได้พูดถึงประเด็นของหุ่นยนต์ มนุษย์ เครื่องจักร และการอยู่รอด อ.ตั้มบอกว่า หุ่ยนต์ควรจะเข้ามาแทนที่มนุษย์ในการทำงานที่น่าเบื่อรวมไปถึงการทำงานเสี่ยงภัยต่างๆ อ.ตั้มพูดในแง่ดีของเทคโนโลยี
ซึ่งมันสวนทางกับสิ่งที่ลิ้มได้นำเสนอไปแล้วเบื้องต้นพอได้ฟังแล้วกลับมานั่งคิดมันก็จริง
อ.ตั้มยังได้บอกอีกว่า"ถ้าเลิกจำเบอร์โทรศัพท์คนก็ไปจำอย่างอื่นแทน"แต่สิ่งที่เทคโนโลยีหรือเจ้าหุ่นยนต์มันต่างจากมนุษย์ก็ตรงที่"หุ่นยนต์ไม่สามารถมีอารมณ์หรือมีความรู้สึกได้"
แต่สิ่งที่มันจะผิดพลาดได้นั้นมันก็น่าจะเป็นที่ตัวมนุษย์เอง HUMAN ERROR !!

COMMUNICATION DESIGN 5 // week 5

คุณลักษณะที่ต่างกันของมนุษย์และเทคโนโลยีคือ อารมณ์ความรู้สึก
การจำด้วยภาพของมนุษย์กับการจำด้วยเทคโนโลยี มันต่างกันตรงไหน ??
ความรู้สึกที่เทคโนโลยีไม่สามารถมีได้แต่คนมีความรู้สึกมีอารมณ์


สัปดาห์นี้เลยได้ชื่อโครงการมา ทำอะไรยังไม่ทราบได้รู้แต่มีชื่อโครงการมาจำกัดขอบเขต
"โครงการออกแบบสื่อสารเพิ่อนำเสนอเชิงเปรียบเทียบของระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์"

ชื่อโครงการยาวไปไหมนี่ ^^ชื่อโครงการได้ผ่านการกลั่นกรองจากอาจารย์ทั้งสองแล้ว


COMMUNICATION DESIGN 5 // week 4

เทคโนโลยี
การเก็บรวบรวมข้อมูล --->ประมวลผล---->แสดงผลลัพธ์
EX : กดปุ่มถ่ายรูป --- > ถูกบันทึก ---> เกิดภาพถ่ายบนจอ
(Input ---------------->Output)
มนุษย์
รับรู้ ---> จำ ---> ส่งสาร
ระบบการจำของมนุษย์มี 2 แบบ คือ
1.ระบบการจำระยะสั้น 15-30 วินาที (พื้นที่จำกัด)
2.ระบบการจำระยะยาว (พื้นที่ระยะยาว)
สมองมนุษย์จะจำสิ่งที่เกิดแรกและหลังสุดได้ เช่น ความรักครั้งแรก เหตุการณ์เมื่อวาน
และสมองจะจำได้ดีกับข้อมูลซ้ำๆเห็นซ้ำๆเกิดซ้ำๆข้อมูลที่มีการเชื่อมโยงมีความสัมพันธ์
กันและสุดท้ายสิ่งที่แปลกจากชีวิตประจำวันสมองจะจำได้แม่นมาก
เช่นเหตุการณ์เฉียดตาย "เทคนิคการจำที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองคือ ต้อง
ทำซ้ำหาการเชื่อมโยงและบอกต่อ"
สิ่งที่ได้รู้คือคนสร้างคอมพิวเตอร์มาเลียนแบบระบบการจำของมนุษย์


เกิดการทดลอง(อีกแล้ว) "ทดลองระบบการจำของมนุษย์ในยุคสารสนเทศ"
วิธีการคือ แยกเป็นสองระบบทั้งของมนุษย์และเทคโนโลยีจะแบ่งถึงระบบของทั้ง2ก่อน
ระบบการจำของคน เห็น---ภาพ--จดจำ--ลืมได้ภายใน15-20วินาทีไม่ลืมเรื่องที่ซ้ำๆ
ระบบการจำของเทคโนโลยี รับภาพ--ประมวลผล--ภาพ--ลืมไม่ได้แต่มีสิทธิถูกลบได้

ทดลองกับมนุษย์จะมี 2 ระบบ
-นำภาพหรือตัวอักษรตัวเลขนำมารันในโปรแกรมสลับไปสลับมาบางภาพถูกแสดงนาน
บางภาพถูกแสดงเพียงระยะสั้นๆพอดุภาพเสร็จค่อยไปดูภาพนิ่งต่อนำเสนอด้วยวิธีการ
เดียวกันกับชุดแรกแต่ต่างกันตรงที่ภาพนิ่งจะมีภาพที่ถูกรันขึ้นช้าๆในระยะสั้นๆที่นำเสนอ
ไปในชุดแรกจะมีมากกว่ารุปภาพที่ถูกรันขึ้นมาบ่อยๆ และให้มนุษย์ตอบคำถามว่า
"จำภาพอะไรได้บ้างที่อยู่ภาพนิ่ง??"

ผลของชุดที่ 1 : คำตอบของคนๆนั้นจะสะท้อนให้เห็นระบบการจำของคนๆนั้นว่าจำได้
หรือจำไม่ได้ถ้าจำภาพที่ถูกรันขึ้นบ่อยๆซ้ำๆ คือการจำภาพในระยะยาว
มันเป็นผลของการจำโดยธรรมชาติที่ไม่พึ่งเทคโนโลยี
ผลของชุดที่ 2 : จำได้หรือไม่ได้นั้นเป้นเพราะได้รับสารนั้นในระยะสั้นๆและไม่มีเทคโนโลยี
เป็นตัวช่วยบันทึกความจำ สะท้อนให้เห็นถึงระบบการจำของมนุษย์ใน
ระยะสั้นๆที่เราหันไปพึ่งพาเทคโนโลยีแทนแต่ถ้าไม่มี = จำไม่ได้

ทดลองกับเทคโนโลยี
-นำภาพหรือตัวอักษรตัวเลขนำมารันในโปรแกรมแต่บอกข้อมูลกับผู้ทดลองทั้ง 2 คน
อย่างช้าๆ คนที่ 1 จะมีอุปกรณ์ช่วยบันทึก เช่น โทรศัพท์ คนที่ 2 จะไม่มีอุปกรณ์ช่วย
บันทึกอะไรเลยนอกจากสมองแล้วดุพฤติกรรมของคนทั้งสองว่าเป็นอย่างไร
สมมติถ้าคนที่ 1 นั้นพอรับข้อมูลมาก็รีบใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยบันทึก
สมมติคนที่2 จำโดยใช้สมอง

*พอทั้ง 2 รับข้อมูลที่นำเสนอไปเสร็จแล้วเราขอโทรศัพท์คืน
*ถามว่าระหว่าง 2 คนนี้ใครจำอะไรได้มากน้อยกว่ากัน ??


ความคิดเห็นจากอาจารย์ : ลิ้มเข้าใจผิดกับข้อมูลอะไรบางอย่างแล้วลิ้มก็รู้คำตอบ
อยู่แล้วด้วยว่ามันจริงมันใช่แล้วลิ้มจะโยนภาระไปให้คน
อื่นตอบคำถามให้เราอีกทำไม ไปให้ความสำคัญกับเปลือก
มากเกินไป


COMMUNICATION DESIGN 5 // week 3

เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า - ประสิทธิภาพความจำของมนุษย์ = การถดถอย,การสูญเสีย
มนุษย์เราใช้เทคโนโลยีช่วยจำจนติดเป็นพฤติกรรมที่ขาดเทคโนโลยีไม่ได้ถ้าวันนึงเทคโนโลยีล่มสลายเรายังจะจำอะไรได้อยู่ไหมหรือเราอาจจะจำอะไรไม่ได้เรย
ลองมองค่าความสมเหตุสมผลของมันแล้วผลมันก็จะสวนทางกันอย่างนึงน้อยลง
อีกอย่างจะเพิ่มมากขึ้น ก็เลยอยากจะสะท้อนสังคมปัจจุบันที่กำลังถูกเทคโนโลยีครอบงำ
โดยจะทดสอบความจำของมนุษย์โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวทดสอบเพื่อสื่อให้เห็นอนาคตในวันข้างหน้า


ทดสอบ

ใช้กล้องดิจิตอล (เทคโนโลยี) บันทึกความทรงจำของมนุษย์ (ภาพ)
+
ใช้ที่บันทึกเสียง (เทคโนโลยี) บันทึกควาทรงจำของมนุษย์ (เสียง)
=
ความทรงจำที่ถูกเทคโนโลยีเป็นตัวบันทึก





ความคิดเห็นจากอาจารย์ : เรามองแค่ด้านเทคโนโลยีเพียงด้านเดียวจนลืมมองมนุษย์ไป